Store Categories

TOP5 Best Sellers


บริษัท เอเซีย แอนด์ แปซิฟิค คอสเมติคส์ จำกัด

Asia & Pacific Cosmetics Co., Ltd.         

                                                                                Since 1985




ค่า SPF กับ PA บนครีมกันแดด



                                  ค่า SPF กับ PA บนครีมกันแดด

     
ปัจจุบันครีมกันแดดที่ขายกันทั่วไปในห้างสรรพสินค้า หรือ ตามร้านค้า มีบางยี่ห้อบอกว่า มี SPF ที่ 130 และนอกจากนั้นถ้าคุณสังเกตเพิ่มอีกจะพบว่า มีสัญลักษณ์คำว่า “PA” แสดงหลังค่า SPF อยู่ เช่น SPF15 PA++ แล้ว “SPF” มันคืออะไร แล้วยังจะ “PA” อีกล่ะมันบอกอะไร แล้วเรามาเรียนรู้กันว่า เราควรใช้ SPF ที่มีค่าสูงๆ หรือไม่?
     

      ครีมกันแดด ทำงานอย่างไร
       
     ส่วนผสมในครีมกันแดดจะทำหน้าที่ในการปกป้องผิวจากรังสี UV ด้วยการดูดซับรังสี, ป้องกันแสง UV ไม่ให้ผ่านเข้าไปถึงชั้นผิว หรือทำให้รังสี UV แตกกระจายออกไปเพื่อไม่ให้เข้าทำร้ายผิวโดยตรง

     สำหรับคำแนะนำในการใช้ครีมกันแดด ครีมกันแดดที่ดีที่สุด คือ ครีมกันแดดที่สามารถที่จะป้องกันแสง UV ได้เพียงพอ (ซึ่งอาจจะขึ้นกับความแรงของแสง) เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด ควรทาครีมกันแดดก่อนออกไปสู่ที่มีแสงแดด 30 นาที (ส่วนใหญ่มักจะพบคำแนะนำนี้ตามขวดของครีมกันแดด)

      SPF คืออะไร

      SPF ย่อมาจาก Sun Protection Factor โดยค่าของการปกป้องแสงแดด ถูกกำหนดด้วยระบบของ SPF เอง โดยส่วนใหญ่จะคำนวณจากปริมาณจากการป้องกันรังสี UVB

       ตัวเลขของ SPF บ่งบอกถึงความสามารถในการปกป้องผิวจากการถูกเผาไหม้จากแสงแดด ได้นานเท่าไหร่ เช่น SPF 15 หมายถึง ป้องกันผิวจากการไหม้ได้ 15 เท่า เช่น ปกติคุณออกไปสู่แดดโดยไมได้ทาครีมกันแดดแล้วผิวไหม้ภายใน 20 นาที ถ้าหากทาครีมกันแดด SPF 15 แล้ว จะทำให้การที่ผิวจะถูกแสดงแดดทำลายผิวให้ไหม้นั้น ต้องใช้เวลา เป็น 15 เท่าของ 20 นาที หรือ ประมาณ 300 นาที (5 ชั่วโมง) ผิวถึงจะถูกไหม้จากแสงแดด (ซึ่งปกติถ้าไม่ใช่งานกลางแจ้งแล้วก็คงไม่ออกไปตากแดด ถึง 5 ชั่วโมง)

      SPF สูง ก็ไม่ได้ดีกว่าเสมอไป

      โดยทั่วไป ครีมกันแดด SPF ประมาณ 15 ก็เพียงพอแล้วสำหรับคนทั่วๆ ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในแถบเอเชียอย่างเรา แต่สำหรับคนที่ผิวไวต่อแดด หรือถูกผิวถูแผดเผาให้หมองคล้ำได้ง่ายนั้น ให้ใช้ SPF 30 ก็ถือว่าเพียงพอที่จะปกป้องผิวได้แล้ว แต่ถ้าอยากใช้ที่มีค่า SPF เยอะกว่านี้ ก็ไม่ว่ากัน

      1. การใช้ค่า MED นี้ อาจไม่สะท้อนถึงประสิทธิภาพภายในการป้องกันผิวหนัง จากการทำลายของแสงแดด นั่นคือ ยากันแดดถึงจะป้องกันไม่ให้ผิวหนังแดงได้ แต่ก็ยังอาจเกิดการเสื่อมของผิวหนังขึ้นแล้ว

      2. ปริมาณของการใช้ยากันแดดในการหาค่ามาตรฐาน คือ ต้องทายากันแดด 2 มิลลิกรัมต่อเนื้อที่ผิวหนัง 1 ตารางเซนติเมตรนั้น นับว่ามากกว่าปริมาณการใช้ในชีวิตจริง คนปกติจะทายากันแดดแค่ 0.5 ถึง 1 มิลลิกรัมต่อเนื้อที่ผิวหนัง 1 ตารางเซนติเมตรเท่านั้น ทั้งนี้เพราะ หากทายากันแดดมากไปจะเกิดปัญหาด้านความมันและความสวยงาม

       สำหรับยากันแดดชนิดที่ละลายน้ำได้น้อยนั้น มีชื่อคือ 
      http://images.thaiza.com/45/45_20080423160615..gif   Water resistant หมายถึงการหาค่า SPF หลังอยู่ในน้ำ 40 นาที 
      http://images.thaiza.com/45/45_20080423160615..gif   Waterproof (= very water resistant) หมายถึงการหาค่า SPF หลังอยู่ในน้ำ 80 นาที

       โดยการใช้ยากันแดดตามค่า SPF นี้มักดูตามลักษณะของสีผิว ดังนี้

       1. ถ้าผิวไหม้แดดง่าย โดยผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนยาก ใช้ค่า SPF 20 - 30 (Ultra high)
       2. ถ้าผิวไหม้แดดง่าย โดยผิวอาจมีสีแทนนิดหน่อย ใช่ค่า SPF 12 - 20 (Very high)
       3. ถ้าผิวไหม้แดดปานกลางและผิวค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีแทน ใช้ค่า SPF 8 - 12 (High)
       4. ถ้าผิวไหม้แดดได้น้อยและผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนได้เสมอ ใช่ค่า SPF 4 - 8 (Moderate)
       5. ถ้าผิวไหม้แดดยากมากและผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนได้อย่างมาก ใช้ค่า SPF 2 - 4 (Minimal)
      

       ถ้าดูตามนี้จริงๆแล้ว อย่างเส้นผมซึ่งน่าจะจัดว่าอยู่ในกลุ่มที่ 5 คือ โดนแดดอย่างไร ก็ไม่ไหม้เสียที จะมีก็แต่ผิวคล้ำดำปี๋ ก็ควรจะใช้ SPF แค่ 2 - 4 เท่านั้นเอง

      
       เมื่อดูจากค่า SPF และปริมาณการดูดซับรังสียูวีบี พบว่า

           ค่า SPF    เท่ากับ  2     จะดูดซับ UVB ได้   50%
           ค่า SPF    เท่ากับ  4     จะดูดซับ UVB ได้   75%
           ค่า SPF    เท่ากับ  8     จะดูดซับ UVB ได้   87.5%
           ค่า SPF    เท่ากับ  15   จะดูดซับ UVB ได้   93.3%
           ค่า SPF    เท่ากับ  20   จะดูดซับ UVB ได้   95%
           ค่า SPF    เท่ากับ  30   จะดูดซับ UVB ได้   96.7% 
           ค่า SPF    เท่ากับ  45   จะดูดซับ UVB ได้   97.8% 
           ค่า SPF    เท่ากับ  50   จะดูดซับ UVB ได้   98%


       จะเห็นว่า ค่า SPF หลังจาก 30 แล้ว ค่าที่จะป้องกัน แสง UV ก็ไมได้เพิ่มขึ้นมากเท่ากับ SPF ที่เพิ่มขึ้น เมื่อผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญของครีมกันแดดแล้ว ก็จะคิดว่า ถ้าหากค่า SPF สูงๆ ย่อมที่จะป้องกันแสงแดดได้ดีกว่าแน่นอน เราจึงเห็นครีมกันแดดที่มีค่า SPF มากกว่า 100 ขายกันอยู่ เพื่อเป็นจุดขาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดูตลกมากๆ

        ค่า SPF สูงๆนั้น ไม่ได้หมายความว่าจะปกป้องแสดงแดดได้ดีไปกว่า ค่า SPF ที่ต่ำกว่า ในความเป็นจริงแล้ว ค่า SPF สูงๆ นั้นจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง สำหรับคนที่มีผิวแพ้ง่าย และยังเป็นไปได้ว่าอาจจะมีผลข้างเคียงที่อาจจะก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น อาจจะเกิดผดผื่นคันได้ นอกจากนี้ยังอาจจะทำให้สีผิวของเราไม่สม่ำเสมอ เกิดรอยด่างขึ้นได้ และยังอาจจะทำให้เสื้อผ้าเป็นคราบสีเหลืองติดเสื้อผ้าอีกด้วย

        จึงแนะนำว่าควรใช้ยากันแดดค่า SPF สูง (15 ขึ้นไป) ในกรณีที่ต้องตากแดดเป็นเวลานานติดต่อกันและใช้ค่า SPF ต่ำ ในกรณีที่โดนแดดเป็นครั้งคราวระหว่างวัน


        PA คืออะไร

        ครีมกันแดดใหม่ๆ ที่วางขายกันในตลาดมักประกอบไปด้วย UVA Filter และค่าที่วัดการป้องกันรังสี UVA เรียกว่า PA

         PA ย่อมาจากคำว่า Protection Grade of UVA ในขณะนี้ยังไม่มีหน่วยวัดที่เป็นมาตรฐานในการวัดค่าการดูดซืมของรังสี UVA ดังนั้น จึงถือเอาคำว่า PA เป็นหน่วยวัดรังสี UVA อย่างไม่เป็นทางการ

         ค่า PA นั้นจะมี 3 ระดับ คือ PA+, PA++ และ PA+++
         
         PA+++   สำหรับผู้ที่ต้องการการปกป้องสูง (เจอกับแสงแดดจัดๆเป็นเวลานาน)
         PA+       สำหรับผู้ที่ต้องการการปกป้องแสงแดดจากกิจกรรมทั่วๆไป (อาจจะไม่ได้เจอกับแสงมากนัก)

         ดังนั้นสำหรับใครที่จะต้องเจอกับแสงแดดเป็นเวลาหลายชั่วโมง ให้เลือก PA++ หรือ สูงกว่านี้


ที่มา : shoppinglifestyle.com
การประชุมของสมาคมศิษย์เก่าสถาบันโรคผิวหนัง



ผลิตและจัดจำหน่าย โดย


บริษัท เอเซีย แอนด์ แปซิฟิค คอสเมติคส์ จำกัด
Asia & Pacific Cosmetics Co., Ltd
.

7 ซอยติวานนท์ 18 (ปิ่นประภาคม 1) ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000     
7 Soi Tiwanon 18 (Pinprapakom 1), Talat Khwan, Muang Nontaburi, Nonthaburi 11000

Tel : 089-128-3951, 02-591-1224

E-mail : webmaster@chinvan.com                       Web site : www.chinvan.com

                                   
                                       
Copyright © 2012 Chinvan Co., Ltd.